การ พัฒนาบุคลากร หมายถึง กระบวนการที่จะเสริมสร้างให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความ เข้าใจ ตลอดจนทัศนคติ อันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพัฒนาบุคคล อาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาและการ พัฒนา ...
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ภูผาผึ้งรีสอร์ท
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ เวิร์กชอป (workshop) หมายถึงการประชุมร่วมกันเป็นกลุ่มๆ เป็นระยะเวลานานหลายวัน โดยเน้นการร่วมกันทำงานเพื่อฝึกการแก้ปัญหาโดยผู้เข้าประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ (hands-on training)
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ สมาชิกในการประชุมจะต้องร่วมกันศึกษา รับฟังการบรรยาย หรือ ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้า และฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเฉพาะอย่าง ตามหัวข้อของการประชุมปฏิบัติการครั้งนั้น ๆ หลักสำคัญของการประชุมแบบนี้คือ การเรียนรู้ – ฝึกปฏิบัติ – แล้วนำไปปฏิบัติในการปฏิบัติงานจริง ตัวอย่าง การประชุมเชิงปฏิบัติการ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างแบบทดสอบ – แบบวัดความพึงพอใจของผู้บริหาร การประชุมเชิงปฏิบัติการซ่อมบำรุงเกียร์ระบบอัตโนมัติ การประชุมเชิงปฏิบัติการซ่อมบำรุงเกียร์ระบบอัตโนมัติ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดหมวดหมู่เอกสารในสำนักงาน เป็นต้น
การจัดการประชุมแบบนี้ จึงต้องมีเอกสาร มีหนังสือ มีรายละเอียดและข้อมูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เพื่อประกอบการศึกษาและเพื่อการฝึกปฏิบัติ ซึ่งต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าให้พร้อม เพื่อผู้เข้าประชุมจะใช้ประโยชน์ได้ทันทีในการฝึกปฏิบัติตามกำหนดการ หรือตามตารางการปฏิบัติ ตามที่ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวนี้ จุดเน้นจะอยู่ที่การปฏิบัติได้เป็นการแก้ปัญหาด้วยภาคปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติการมากกว่าการบรรยายหรือการอภิปราย มุ่งปรับปรุงความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของสมาชิกแต่ละคน ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการงานหรือวิชาชีพ
ลักษณะเฉพาะของการประชุมแบบ Workshop มีดังนี้
· มีการกำหนด เรื่องของการประชุมเชิงปฏิบัติการชัดเจน กำหนดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ ไว้เห็นได้ชัด และมีกำหนดการ หรือตารางดำเนินงานในการประชุมและการฝึกหัด ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จัดประชุม
· มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ที่การเพิ่มพูนทักษะ ความรู้และประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในเรื่องที่จัดประชุมปฏิบัติการนั้น ๆ โดยตรง
· มีการเตรียมในด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ เอกสาร ข้อมูลที่จำเป็นให้พร้อม เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติสำหรับสมาชิกโดยเฉพาะ
· มีการฝึก / ทดลองปฏิบัติการ หรือ มีการฝึกปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องที่จัดประชุม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการประชุม
· จุดเน้นของการประชุมปฏิบัติการนี้ อยู่ที่การเตรียมคนให้มีความพร้อมสูง ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในเรื่องที่จัดประชุม และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้
การประชุมในลักษณะดังกล่าวนี้ ปกติแล้ว จะมีทั้งการให้ความรู้ (ซึ่งได้เลือกและเตรียมการไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างดีแล้ว) และการฝึกปฏิบัติควบคู่กัน แต่จุดเน้นที่สำคัญท้ายที่สุดแล้ว จะอยู่ที่ความสามารถในการปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติได้ ในการปฏิบัติงานจริง
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมเยี่ยมญาติของทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1 พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท.
27พ.ค.61 ผอ.สน.บก.บก.ทท. เป็นประธานพิธีวันพร้อมญาติของทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1 ณ. หน่วยฝึกทหารใหม่ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. โดยมี คณะนายทหาร และผบ.พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ให้การต้อนรับ ในงาน มีการแสดงทางยุทธวิธีของทหารใหม่ ให้แก่ผู้บังคับบัญชา และญาติได้ชม
วันพร้อมญาติทหารใหม่ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ญาติของทหารใหม่ได้มีโอกาสมาพบปะทหารใหม่หลังจากที่ทหารใหม่เข้ามารายงานตัวเข้าประจำการ และรับการฝึกหลักสูตรทหารใหม่เบื้องต้น 10 สัปดาห์ เมื่อได้เข้ารับการฝึก 1 สัปดาห์ จะมีกิจกรรมให้ญาติได้พบปะทหารใหม่ เพื่อสอบถามสารทุกข์ต่าง ๆ ของการเป็นทหาร
ดังนั้น ชีวิตความเป็นทหารมีความแตกต่างจากพลเรือนโดยสิ้นเชิง แต่กระบวนการฝึกนั้นจะมีขั้นตอนการฝึกปรับสภาพร่างกายเป็นลำดับของแต่ละสัปดาห์
การฝึกทหารใหม่
1.ในการฝึกต้องยึดถือตามระเบียบและหลักสูตรการฝึก ตลอดจนการฝึกเพิ่มเติมในเรื่องที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วย และกิจที่ทหารจะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยหน่วยจะต้องคัดเลือก ผู้ฝึก และครูฝึก ที่มีความรู้ความสามารถ ในการสอน/ฝึก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาต้องให้ความสำคัญ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามนโยบายอย่างใกล้ชิด โดยนำเอาทรัพยากรหรือเครื่องช่วยฝึกที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ให้มีการอบรมปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพ่งเล็งในเรื่องสวัสดิการอย่างเหมาะสม หากมีการพิจารณาการลงทัณฑ์ต้องปฏิบัติตามประมวลวินัยทหาร ห้ามไม่ให้มีการทำร้ายร่างกายโดยเด็ดขาด
2. สำหรับการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหารใหม่ ให้ยึดถือปฏิบัติตามคู่มือพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหาร พ.ศ.2558 อย่างเคร่งครัด
3. มีการวางแผนกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหารใหม่อย่างชัดเจนเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อให้มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงดีขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ
4. ให้คัดกรองทหารใหม่ แยกกลุ่มเสี่ยง เช่น ทหารใหม่เป็นโรคอ้วน, มี BMI เกินเกณฑ์ที่กำหนด, มีโรคประจำตัว หรือมีสภาพร่างกายอ่อนแอ เพื่อแยกทำการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายตามกลุ่มความสามารถให้พัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามเป้าหมายเดียวกันทั้งหมด
5. ให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายขั้นต้นเพื่อจัดกลุ่มทหารใหม่ตามระดับสมรรถภาพร่างกายและกำหนดโปรแกรมในการฝึกฝนพัฒนาสมรรถภาพร่างกายตามความเหมาะสมให้ครบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ
(1) ความทนทานในระบบไหลเวียนโลหิต
(2) กำลังและความทนทานของกล้ามเนื้อ
(3) ความยืดหยุ่น
(4) ความสมส่วนของรูปร่าง ทั้งนี้ให้ยืดถือการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหมและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
6. จัดโปรแกรมการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายที่มีแบบแผนและมีขั้นตอน โดยห้ามนำการลงโทษด้วยการออกกำลังกาย (การซ่อม) มาปะปนกับการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้ทหารใหม่มีสมรรถภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้งนี้ ผู้ฝึกทหารใหม่จะต้องเป็นผู้นำในการออกำลังกาย
7. ห้วงเวลาการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย ให้ปฏิบัติตามรปจ.การฝึกประจำวัน เน้นให้พัฒนาสมรรถภาพร่างกายในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน (0630 – 0700) เป็นหลักสำหรับในช่วงบ่ายให้เป็นการฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว และกีฬาเพื่อการสันทนาการ
กิจกรรมวิสาขบูชาของ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท.
๒๙ พ.ค.๖๑ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ได้นำกำลังพลเข้าร่วม กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๖๑ ณ วัดสันติบุญมาราม
ความหมายของวันวิสาขบูชา
คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 การกำหนด วันวิสาขบูชาความหมายของวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน
อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่
1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส
2. วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณหลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
3. วันวิสาขบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ "ธรรมะ" ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นความทุกข์ เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่
1.ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
2.จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3.ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
4.ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
5.ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6.จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7.ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)