การพัฒนาบุคลากร หมายถึง กระบวนการที่จะเสริมสร้างให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ ตลอดจนทัศนคติ อันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพัฒนาบุคคลอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาและการพัฒนา ...

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การฝึกพลสารวัตรใหม่

 8 พ.ค.61 พัน.สห.สน.บก.บก.ทท. ดำเนินการฝึกการอารักขาบุคคลสำคัญ,การใช้รถยนต์ในการ รปภ.บุคคลสำคัญ,การชักล้อมบุคคลสำคัญอยู่ในรถ ให้กับกำลังพลที่รับการบรรจุใหม่(พลอาสาสมัคร)
ณ พัน.สห.สน.บก.บก.ทท.





 ๑. แนวทางการประสานการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
      ๑.๑ การรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ ให้ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษา
ความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ.๒๕๓๑
       ๑.๒ การประสานงานระหว่างส่วนราชการในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ต้องให้มี
เอกภาพในการบังคับบัญชา โดยยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้
            ๑.๒.๑ ในกรณีที่มีหลายส่วนราชการ ที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญร่วมกัน
ให้จัดตั้งกองอำนวยการร่วมในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ โดยให้ผู้อำนวยการร่วมเป็นผู้
รับผิดชอบ มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
            ๑.๒.๒ ในระหว่างการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินซึ่ง
อาจกระทบต่อบุคคลสำคัญโดยฉับพลัน ให้หัวหน้าชุดอารักขาบุคคลสำคัญนั้นมีอำนาจสั่งการในการ
ปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะส่วนนั้นได้ทันที
             ๑.๒.๓ ส่วนราชการเจ้าของพื้นที่ ซึ่งให้การต้อนรับบุคคลสำคัญ ประสานการปฏิบัติกับกอง
อำนวยการร่วมอย่างใกล้ชิด
        ๑.๓. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ จัดทำรายงานการปฏิบัติ
เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติ

     ในการวางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องถือเป็นระเบียบ
ปฏิบัติประจำ แผนจำเป็นต้องบรรจุรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติ โดยแจกจ่ายให้กับฝ่ายอำนวยการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงเท่านั้นที่ต้องได้รับแผนสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอื่น ๆ ก็ให้ทราบเพียงเรื่องใหญ่ ๆ ของแผนและทำความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยเฉพาะของแต่ละบุคคล คำแนะนำต่าง ๆ ต้องง่ายต่อการเข้าใจและปฏิบัติตามแผนที่ดีจะต้องมีความอ่อนตัว แผนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ มีเวลาเพียงพอในการแจกจ่ายตลอดจนการซักซ้อมการปฏิบัติที่ได้วางแผนไว้ หนทางที่จะไปสู่ความสำเร็จในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้น อยู่ที่การวางแผนอย่างละเอียดต่อเนื่อง เลือกใช้มาตรการอย่างรอบคอบพิถีพิถัน การฝึกอบรมและการนำเจ้าหน้าที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
๒. แนวทางในการวางแผน
      เป็นแนวทางของผู้บังคับบัญชาที่ให้กับเจ้าหน้าที่ที่จัดทำแผน เพื่อใช้ในการทำทบทวน
ประมาณการความมากน้อยของแนวทางในการวางแผนจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
       ๒.๑ ภารกิจของหน่วย ผู้บังคับบัญชาสามารถกำหนดกิจเฉพาะต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำ
เพื่อให้บรรลุภารกิจนั้น และกำหนดกิจแบ่งขึ้นตามที่ตนพิจารณาเห็นเหมาะสม
       ๒.๒ ปริมาณและความถูกต้อง เชื่อถือได้ของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่
       ๒.๓ สถานการณ์ในขณะนั้น รวมทั้งประสบการณ์ที่เคยได้รับ
        ๒.๔ ความสามารถและความคุ้นเคยของหน่วยปฏิบัติที่มีต่อภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมของฝ่าย
ตรงข้าม
๓. สิ่งที่ต้องการในการวางแผน
     ๓.๑ กำหนด วัน เวลา สถานที่ที่บุคคลสำคัญจะเดินทางไป ตลอดจนประเภทของงานพิธี
    ๓.๒ วิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยประมาณการณ์ด้านการข่าว
    ๓.๓ เหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ บุคคล
วิกลจริต เป็นต้น
    ๓.๔ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ในพื้นที่ที่บุคคลสำคัญจะเดินทางไป
    ๓.๕ กองบังคับการ (Command Post) สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ นามเรียกขาน ฯลฯ
    ๓.๖ สายการบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร
    ๓.๗ แบ่งมอบหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติทั้งหมดในแผน โดยอาจ
แบ่งเป็นรายบุคคล เป็นผลัด เป็นชุด
    ๓.๘ การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ และในแต่ละภารกิจ
    ๓.๙ อาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
    ๓.๑๐ ค่าใช้จ่ายพิเศษที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าเช่ารถยนต์ ค่ายานพาหนะ ฯลฯ
    ๓.๑๑ ข้อห่วงใยพิเศษในการรักษาความปลอดภัย
๔. ข้อพิจารณาในการทำแผน
     ความล่อแหลมต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลสำคัญ จะต้องนำมาพิจารณาใน
รายละเอียดทุกขั้นตอนนับตั้งแต่บุคคลสำคัญมาถึง ขณะพบปะกับประชาชน ขณะกล่าวสุนทรพจน์ ขณะ
นั่งเป็นประธาน ขณะใช้ลิฟท์ ขณะที่อยู่ตามห้างร้านและที่โล่งแจ้งในที่สาธารณะ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่
เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายมากที่สุดคือช่วงที่บุคคลสำคัญกำลังลงจากรถ ขึ้นรถ ขณะที่เดินเข้าและออกจากที่หมาย อยู่ท่ามกลางกลุ่มชนเหล่านี้จะต้องเตรียมการ จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนระวังป้องกันให้เหมาะสม
๕. ลักณะของแผน
     ส่วนประกอบอันสำคัญของแผนก็คือ ต้องมีหนทางปฏิบัติที่แน่นอนและให้วิธีการปฏิบัติตาม
แผนนั้นด้วย แผนที่ดีจะมีลักษณะดังนี้
    ๕.๑ ต้องสามารถบรรลุภารกิจ
    ๕.๒ ต้องอาศัยข้อเท็จจริงและสมมติฐานที่เหมาะสม
     ๕.๓ ต้องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่
     ๕.๔ ต้องมีการจัดตามความจำเป็น
     ๕.๕ ต้องมีความต่อเนื่อง
    ๕.๖ ต้องมีการกระจายอำนาจ
    ๕.๗ ต้องมีการติดต่อกันโดยตรงระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับเดียวกัน
    ๕.๘ ต้องง่าย อ่อนตัว และต้องมีการควบคุม
๖. ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำแผน
     ๖.๑ ขั้นเตรียมการ แบ่งเป็น ๒ ขั้นตอน
               ๖.๑.๑ การประสานงาน
                        - ประสานงานเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการต้อนรับ
                        - จัดส่งชุดปฏิบัติการหาข่าวทางลับ
                        - จัดส่งชุดสำรวจล่วงหน้า เพื่อสำรวจสถานที่
                ๖.๑.๒ การวางแผน
                        - พิจารณาวางแผนให้เหมาะสมกับข่าวที่ได้รับ
                        - จัดทำแผนที่แสดงการวางกำลังของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และ
ฝ่ายเกี่ยวข้อง
                         - สรุปข่าวในพื้นที่ ตลอดจนการจัดกำลังเสนอแผนการรักษาความปลอดภัย
ให้บุคคลสำคัญทราบล่วงหน้า
                         - จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อเตรียมแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
         ๖.๒ ขั้นการปฏิบัติการ
ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วน กำหนดหน้าที่แต่ละชุดปฏิบัติงาน ที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ จัดกำลังอย่างไร วางกำลังในพื้นที่อย่างไร
        ๖.๓ ขั้นการวิจารณ์และการรายงานหลังจากเสร็จภารกิจเป็นการรวบรวม สรุปปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                   ๖.๓.๑ เพื่อเป็นฐานข่าวในการปฏิบัติครั้งต่อไป
                   ๖.๓.๒ เพื่อเป็นแนวทางครั้งต่อไป โดยปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาแล้ว
                   ๖.๓.๓ เป็นประวัติศาสตร์ของหน่วยและชาติ
การวิจารณ์จะได้ผลดีที่สุด ควรกระทำให้เร็วที่สุดภายหลังจากเสร็จภารกิจ โดยผู้ร่วมปฏิบัติภารกิจทั้งหมดมาพร้อมกันและวิจารณ์กันว่า เรื่องต่าง ๆ ที่ได้ทำไปแล้วนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ให้รวมถึงการวิจารณ์ในเรื่องไหวพริบ และเทคนิคในการปฏิบัติด้วย เพื่อให้เป็นบทเรียนในการปฏิบัติภารกิจครั้งแต่ไปให้ดีขึ้น

เจ้าหน้าที่ ๓ คน (Three Agent) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
เจ้าหน้าที่ ๔ คน (Four Agents) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
     ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
เจ้าหน้าที่ ๕ คน (Pentagon Agents) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
     ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
     ๕ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A
เจ้าหน้าที่ ๖ คน (Pentagon Agents) ประกอบด้วย
    ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
   ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
   ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
   ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
   ๕ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A
  ๖ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A