การพัฒนาบุคลากร หมายถึง กระบวนการที่จะเสริมสร้างให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ ตลอดจนทัศนคติ อันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพัฒนาบุคคลอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาและการพัฒนา ...

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมเยี่ยมญาติของทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1 พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท.

 27พ.ค.61 ผอ.สน.บก.บก.ทท. เป็นประธานพิธีวันพร้อมญาติของทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1  ณ. หน่วยฝึกทหารใหม่ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. โดยมี คณะนายทหาร และผบ.พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ให้การต้อนรับ ในงาน มีการแสดงทางยุทธวิธีของทหารใหม่ ให้แก่ผู้บังคับบัญชา และญาติได้ชม






วันพร้อมญาติทหารใหม่ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ญาติของทหารใหม่ได้มีโอกาสมาพบปะทหารใหม่หลังจากที่ทหารใหม่เข้ามารายงานตัวเข้าประจำการ และรับการฝึกหลักสูตรทหารใหม่เบื้องต้น 10 สัปดาห์ เมื่อได้เข้ารับการฝึก 1 สัปดาห์ จะมีกิจกรรมให้ญาติได้พบปะทหารใหม่ เพื่อสอบถามสารทุกข์ต่าง ๆ ของการเป็นทหาร
   ดังนั้น ชีวิตความเป็นทหารมีความแตกต่างจากพลเรือนโดยสิ้นเชิง แต่กระบวนการฝึกนั้นจะมีขั้นตอนการฝึกปรับสภาพร่างกายเป็นลำดับของแต่ละสัปดาห์
การฝึกทหารใหม่
       1.ในการฝึกต้องยึดถือตามระเบียบและหลักสูตรการฝึก ตลอดจนการฝึกเพิ่มเติมในเรื่องที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วย และกิจที่ทหารจะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยหน่วยจะต้องคัดเลือก ผู้ฝึก และครูฝึก ที่มีความรู้ความสามารถ ในการสอน/ฝึก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาต้องให้ความสำคัญ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามนโยบายอย่างใกล้ชิด โดยนำเอาทรัพยากรหรือเครื่องช่วยฝึกที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ให้มีการอบรมปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพ่งเล็งในเรื่องสวัสดิการอย่างเหมาะสม หากมีการพิจารณาการลงทัณฑ์ต้องปฏิบัติตามประมวลวินัยทหาร ห้ามไม่ให้มีการทำร้ายร่างกายโดยเด็ดขาด
      2. สำหรับการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหารใหม่ ให้ยึดถือปฏิบัติตามคู่มือพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหาร พ.ศ.2558 อย่างเคร่งครัด
      3. มีการวางแผนกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายทหารใหม่อย่างชัดเจนเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อให้มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงดีขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ
      4. ให้คัดกรองทหารใหม่ แยกกลุ่มเสี่ยง เช่น ทหารใหม่เป็นโรคอ้วน, มี BMI เกินเกณฑ์ที่กำหนด, มีโรคประจำตัว หรือมีสภาพร่างกายอ่อนแอ เพื่อแยกทำการพัฒนาสมรรถภาพร่างกายตามกลุ่มความสามารถให้พัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามเป้าหมายเดียวกันทั้งหมด
      5. ให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายขั้นต้นเพื่อจัดกลุ่มทหารใหม่ตามระดับสมรรถภาพร่างกายและกำหนดโปรแกรมในการฝึกฝนพัฒนาสมรรถภาพร่างกายตามความเหมาะสมให้ครบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ 
            (1) ความทนทานในระบบไหลเวียนโลหิต
            (2) กำลังและความทนทานของกล้ามเนื้อ
            (3) ความยืดหยุ่น
            (4) ความสมส่วนของรูปร่าง ทั้งนี้ให้ยืดถือการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหมและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
        6. จัดโปรแกรมการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายที่มีแบบแผนและมีขั้นตอน โดยห้ามนำการลงโทษด้วยการออกกำลังกาย (การซ่อม) มาปะปนกับการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้ทหารใหม่มีสมรรถภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกองบัญชาการกองทัพไทย ทั้งนี้ ผู้ฝึกทหารใหม่จะต้องเป็นผู้นำในการออกำลังกาย
        7. ห้วงเวลาการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย ให้ปฏิบัติตามรปจ.การฝึกประจำวัน เน้นให้พัฒนาสมรรถภาพร่างกายในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน (0630 – 0700) เป็นหลักสำหรับในช่วงบ่ายให้เป็นการฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว และกีฬาเพื่อการสันทนาการ

การฝึกทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1

เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ค.๖๑ พล.ท.นเรนทร์ สิริภูบาล รอง ผบ.นทพ. และคณะ ได้กรุณาให้เกียรติมาตรวจเยี่ยมการฝึกของทหารใหม่ ผลัด ๑/๖๑  หน่วยฝึกทหารใหม่ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. โดยมี ผบ.พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ให้การต้อนรับ



การฝึกทหารใหม่ รุ่นปี 2561/1




กิจกรรมวิสาขบูชาของ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท.

 ๒๙ พ.ค.๖๑ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ได้นำกำลังพลเข้าร่วม กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๖๑  ณ วัดสันติบุญมาราม
ความหมายของวันวิสาขบูชา
        คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 การกำหนด วันวิสาขบูชา
        วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน
    อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติและความสำคัญของวันวิสาขบูชา
       วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส
2. วันวิสาขบูชา
       
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณหลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

         ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

3. วันวิสาขบูชา 
       เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ         
               วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน 






       วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ "ธรรมะ" ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นความทุกข์ เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่
    1.ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร 
    2.จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
   3.ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล 
   4.ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 
   5.ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
   6.จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
   7.ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วันที่ ๒๔ พ.ค.๖๑ เวลา ๐๘๓๐ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ ผบ.ทสส สิงคโปร์ เนื่องในพิธีรับเครื่องราชฯ สน.บก.บก.ทท. รับผิดชอบการดูแลเขตสุขาภิบาล การตั้งแท่น ปูพรม  โดย ผอ.สน.บก.บก.ทท. ตรวจดูความเรียบร้อยพื้นที่ต้อนรับ ณ หน้าอาคาร บก.ทท.







วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วันคล้ายวันงานสถาปนา พัน.รวป.ส.บก.บก.ทท.

 ๑๒ พ.ค.๖๑ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ได้มีกิจกรรมทำบุญ เลี้ยงพระ เนื่องในวันสถาปนา พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พล.ต.สมชัย มาลินันท์  ผอ.สน.บก.บก.ทท. มาเป็นประธานในพิธีฯ และ อดีต ผบ.พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ได้กรุณามาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ ณ ห้องยุทธการ พัน.รวป.บก.บก.ทท.








วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล กองบัญชาการกองทัพไทย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561









วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การฝึกพลสารวัตรใหม่

 8 พ.ค.61 พัน.สห.สน.บก.บก.ทท. ดำเนินการฝึกการอารักขาบุคคลสำคัญ,การใช้รถยนต์ในการ รปภ.บุคคลสำคัญ,การชักล้อมบุคคลสำคัญอยู่ในรถ ให้กับกำลังพลที่รับการบรรจุใหม่(พลอาสาสมัคร)
ณ พัน.สห.สน.บก.บก.ทท.





 ๑. แนวทางการประสานการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
      ๑.๑ การรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ ให้ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษา
ความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ.๒๕๓๑
       ๑.๒ การประสานงานระหว่างส่วนราชการในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ต้องให้มี
เอกภาพในการบังคับบัญชา โดยยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้
            ๑.๒.๑ ในกรณีที่มีหลายส่วนราชการ ที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญร่วมกัน
ให้จัดตั้งกองอำนวยการร่วมในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ โดยให้ผู้อำนวยการร่วมเป็นผู้
รับผิดชอบ มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
            ๑.๒.๒ ในระหว่างการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินซึ่ง
อาจกระทบต่อบุคคลสำคัญโดยฉับพลัน ให้หัวหน้าชุดอารักขาบุคคลสำคัญนั้นมีอำนาจสั่งการในการ
ปฏิบัติเพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะส่วนนั้นได้ทันที
             ๑.๒.๓ ส่วนราชการเจ้าของพื้นที่ ซึ่งให้การต้อนรับบุคคลสำคัญ ประสานการปฏิบัติกับกอง
อำนวยการร่วมอย่างใกล้ชิด
        ๑.๓. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ จัดทำรายงานการปฏิบัติ
เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติ

     ในการวางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องถือเป็นระเบียบ
ปฏิบัติประจำ แผนจำเป็นต้องบรรจุรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติ โดยแจกจ่ายให้กับฝ่ายอำนวยการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงเท่านั้นที่ต้องได้รับแผนสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอื่น ๆ ก็ให้ทราบเพียงเรื่องใหญ่ ๆ ของแผนและทำความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยเฉพาะของแต่ละบุคคล คำแนะนำต่าง ๆ ต้องง่ายต่อการเข้าใจและปฏิบัติตามแผนที่ดีจะต้องมีความอ่อนตัว แผนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ มีเวลาเพียงพอในการแจกจ่ายตลอดจนการซักซ้อมการปฏิบัติที่ได้วางแผนไว้ หนทางที่จะไปสู่ความสำเร็จในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้น อยู่ที่การวางแผนอย่างละเอียดต่อเนื่อง เลือกใช้มาตรการอย่างรอบคอบพิถีพิถัน การฝึกอบรมและการนำเจ้าหน้าที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
๒. แนวทางในการวางแผน
      เป็นแนวทางของผู้บังคับบัญชาที่ให้กับเจ้าหน้าที่ที่จัดทำแผน เพื่อใช้ในการทำทบทวน
ประมาณการความมากน้อยของแนวทางในการวางแผนจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
       ๒.๑ ภารกิจของหน่วย ผู้บังคับบัญชาสามารถกำหนดกิจเฉพาะต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำ
เพื่อให้บรรลุภารกิจนั้น และกำหนดกิจแบ่งขึ้นตามที่ตนพิจารณาเห็นเหมาะสม
       ๒.๒ ปริมาณและความถูกต้อง เชื่อถือได้ของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่
       ๒.๓ สถานการณ์ในขณะนั้น รวมทั้งประสบการณ์ที่เคยได้รับ
        ๒.๔ ความสามารถและความคุ้นเคยของหน่วยปฏิบัติที่มีต่อภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมของฝ่าย
ตรงข้าม
๓. สิ่งที่ต้องการในการวางแผน
     ๓.๑ กำหนด วัน เวลา สถานที่ที่บุคคลสำคัญจะเดินทางไป ตลอดจนประเภทของงานพิธี
    ๓.๒ วิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยประมาณการณ์ด้านการข่าว
    ๓.๓ เหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ บุคคล
วิกลจริต เป็นต้น
    ๓.๔ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ในพื้นที่ที่บุคคลสำคัญจะเดินทางไป
    ๓.๕ กองบังคับการ (Command Post) สถานที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ นามเรียกขาน ฯลฯ
    ๓.๖ สายการบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร
    ๓.๗ แบ่งมอบหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติทั้งหมดในแผน โดยอาจ
แบ่งเป็นรายบุคคล เป็นผลัด เป็นชุด
    ๓.๘ การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ และในแต่ละภารกิจ
    ๓.๙ อาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
    ๓.๑๐ ค่าใช้จ่ายพิเศษที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าเช่ารถยนต์ ค่ายานพาหนะ ฯลฯ
    ๓.๑๑ ข้อห่วงใยพิเศษในการรักษาความปลอดภัย
๔. ข้อพิจารณาในการทำแผน
     ความล่อแหลมต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลสำคัญ จะต้องนำมาพิจารณาใน
รายละเอียดทุกขั้นตอนนับตั้งแต่บุคคลสำคัญมาถึง ขณะพบปะกับประชาชน ขณะกล่าวสุนทรพจน์ ขณะ
นั่งเป็นประธาน ขณะใช้ลิฟท์ ขณะที่อยู่ตามห้างร้านและที่โล่งแจ้งในที่สาธารณะ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่
เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายมากที่สุดคือช่วงที่บุคคลสำคัญกำลังลงจากรถ ขึ้นรถ ขณะที่เดินเข้าและออกจากที่หมาย อยู่ท่ามกลางกลุ่มชนเหล่านี้จะต้องเตรียมการ จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนระวังป้องกันให้เหมาะสม
๕. ลักณะของแผน
     ส่วนประกอบอันสำคัญของแผนก็คือ ต้องมีหนทางปฏิบัติที่แน่นอนและให้วิธีการปฏิบัติตาม
แผนนั้นด้วย แผนที่ดีจะมีลักษณะดังนี้
    ๕.๑ ต้องสามารถบรรลุภารกิจ
    ๕.๒ ต้องอาศัยข้อเท็จจริงและสมมติฐานที่เหมาะสม
     ๕.๓ ต้องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่
     ๕.๔ ต้องมีการจัดตามความจำเป็น
     ๕.๕ ต้องมีความต่อเนื่อง
    ๕.๖ ต้องมีการกระจายอำนาจ
    ๕.๗ ต้องมีการติดต่อกันโดยตรงระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับเดียวกัน
    ๕.๘ ต้องง่าย อ่อนตัว และต้องมีการควบคุม
๖. ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำแผน
     ๖.๑ ขั้นเตรียมการ แบ่งเป็น ๒ ขั้นตอน
               ๖.๑.๑ การประสานงาน
                        - ประสานงานเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการต้อนรับ
                        - จัดส่งชุดปฏิบัติการหาข่าวทางลับ
                        - จัดส่งชุดสำรวจล่วงหน้า เพื่อสำรวจสถานที่
                ๖.๑.๒ การวางแผน
                        - พิจารณาวางแผนให้เหมาะสมกับข่าวที่ได้รับ
                        - จัดทำแผนที่แสดงการวางกำลังของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และ
ฝ่ายเกี่ยวข้อง
                         - สรุปข่าวในพื้นที่ ตลอดจนการจัดกำลังเสนอแผนการรักษาความปลอดภัย
ให้บุคคลสำคัญทราบล่วงหน้า
                         - จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อเตรียมแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
         ๖.๒ ขั้นการปฏิบัติการ
ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วน กำหนดหน้าที่แต่ละชุดปฏิบัติงาน ที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่ จัดกำลังอย่างไร วางกำลังในพื้นที่อย่างไร
        ๖.๓ ขั้นการวิจารณ์และการรายงานหลังจากเสร็จภารกิจเป็นการรวบรวม สรุปปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                   ๖.๓.๑ เพื่อเป็นฐานข่าวในการปฏิบัติครั้งต่อไป
                   ๖.๓.๒ เพื่อเป็นแนวทางครั้งต่อไป โดยปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาแล้ว
                   ๖.๓.๓ เป็นประวัติศาสตร์ของหน่วยและชาติ
การวิจารณ์จะได้ผลดีที่สุด ควรกระทำให้เร็วที่สุดภายหลังจากเสร็จภารกิจ โดยผู้ร่วมปฏิบัติภารกิจทั้งหมดมาพร้อมกันและวิจารณ์กันว่า เรื่องต่าง ๆ ที่ได้ทำไปแล้วนั้น มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ให้รวมถึงการวิจารณ์ในเรื่องไหวพริบ และเทคนิคในการปฏิบัติด้วย เพื่อให้เป็นบทเรียนในการปฏิบัติภารกิจครั้งแต่ไปให้ดีขึ้น

เจ้าหน้าที่ ๓ คน (Three Agent) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
เจ้าหน้าที่ ๔ คน (Four Agents) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
     ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
เจ้าหน้าที่ ๕ คน (Pentagon Agents) ประกอบด้วย
     ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
     ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
     ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
     ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
     ๕ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A
เจ้าหน้าที่ ๖ คน (Pentagon Agents) ประกอบด้วย
    ๑ หัวหน้าชุดติดตาม (Detail Leader) DL
   ๒ รองหัวหน้าชุดติดตาม (Shift Leader) SL
   ๓ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Right Rear) RR
   ๔ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Left Rear) LR
   ๕ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A
  ๖ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Agent) A

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมบริการสังคม

เมื่อวันที่ ๕ พ.ค.๖๑  พัน.รวป.ฯ จัดกำลังพลทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  ณ วัดตลาดเหนือ เนื่องในการที่วัดจัดเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ ๑หน่วย ๑วัด ๑โรงเรียน ๑ชุมชน
 กิจกรรม "บวร" เป็นกิจกรรมของชุมชนที่มีความสำคัญยิ่งที่จะสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับสังคมมีความเข้มแข็งต้องเริ่มที่ บ้าน ประกอบด้วย ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ ญาติพี่น้อง วัด ประกอบด้วย แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ผู้นำทางศาสนา ศาสนสถานทางศาสนาของแต่ละศาสนา โรงเรียน ประกอบด้วย สถาบันการศึกษา  ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน






พุทธศาสนิกชน ชาวไทยได้จัดให้มีขึ้นประจำปี สืบทอดเป็นประเพณีกันมาช้านาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบไทยๆ ประเพณีเทศน์มหาชาติ จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตของคนไทย มาแต่อดีตจนปัจจุบันเพราะเป็นประเพณีที่ให้ทั้งความสนุกสนาน สร้างความสมานสามัคคีในชุมชน และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนศีลธรรมคุณธรรมแก่ประชาชน ผู้ร่วมกิจกรรมไปพร้อมกัน
ที่มา : พระโอวาท สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ในเทศก์มหาชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๔-๖ ตุลาคม ๒๕๓๕ (กรุงเทพฯ : สำนักงานพุทธมณฑล กรมการศาสนา, ๒๕๓๕)

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การประชุมประจำเดือน หน.ส่วนราชการ

๓ พ.ค.๖๑ เวลา๑๐๐๐ ผอ.สน.บก.บก.ทท. เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการในของ สน.บก.บก.ทท. ณ ห้องประชุม ๑ บก.สน.บก.บก.ทท.